กรุสำหรับ ธันวาคม, 2013

 

Image

 

         บทความเรื่องทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์  พานิชได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย  และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C

– 3R  ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้)  และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

– 7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)

– Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)

– Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)

– Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)

– Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)

– Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

– Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

         ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น  “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม  การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้  แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ  ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)

       

ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C  และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต  แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง  ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์  และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น ผู้สอนผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์   ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL  คือโรงเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน  เน้นทั้งการเรียนของศิษย์ และของครู

 

รูปภาพ

 

                                                     เมื่อชีวิตเผชิญอุปสรรค
                                                     ต้องรู้จักว่านั่นเป็นธรรมดาของชีวิต
                                                     อย่าหวั่นไหว เมื่อเจออุปสรรค
                                                     เพราะอุปสรรคช่วยสร้างประสิทธิภาพ
                                                      ปัจจัยของความสำเร็จอันน่าภาคภูมิใจ
                                                      ไม่มีอะไรเกินกว่าอุปสรรค
                                                       ผู้ที่ไม่เคยต่อสู้กับอุปสรรค
                                                       ไฉนจะรู้จักความสามารถที่แท้จริงของตนได้

                                                        ก้อนหินน้อยขวางทางข้ามได้ก็ข้ามไป
                                                        ก้อนหินใหญ่ขวางทางเขยื้อนได้เขยื้อนไป
                                                        ภูเขาใหญ่ขวางทาง ถ้าต้องไปก็อ้อมไป

                                                        ผู้ที่สู้กับอุปสรรคที่ต้องหลีก
                                                        และผู้ท้อแท้ต่ออุปสรรคที่ต้องสู้
                                                        คือผู้หันหลังให้กับความจริง
                                                        และปิดหนทางแห่งความชอบธรรมเสียสิ้น

                                             ” ที่เรามีปัญหา

                                                แล้วเป็นทุกข์

                                                  ก็เพราะเรา

                                            มัวคิดว่ามันเป็นปัญหา

                                        มากกว่าคิดถึงการลงมือแก้ไข”

       รูปภาพ

 

ในโลกยุคปัจจุบันนี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคของข้อมูลข่าวสารเนื่องมาจากการติดต่อเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยความเจริญก้าวทางด้านเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากที่ครูเป็นศูนย์กลางมาสู่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้นแหล่งความรู้อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ชุมชน เพื่อน ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่

เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี” เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct) ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)

การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา

เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็นเกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย คือ

1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว

2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด

3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป

เทคโนโลยีสมัยใหม่การศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น

จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิด กระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต

การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นระบบการประยุกต์ผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม ผสมผสานกับหลักทางสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา มาใช้ในการศึกษาเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมการจัดและออกแบบระบบพฤติกรรม เทคนิควิธีการ การสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อม การจัดการเรียนการสอน และการประเมิน

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้การพัฒนาสื่อสารมวลชน (ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ ( คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคม การสื่อสารอื่น ๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและสถานที่

ส่วนการจัดการศึกษาตลอดชีวิตนั้น พบว่ารูปแบบการศึกษาในระบบโรงเรียนของประเทศด้อยพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ไม่สามารถให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างทั่วถึงทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการศึกษา เพราะประชาชนที่มีฐานะดีเท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษา ส่วน คนยากจนขาดโอกาสในการศึกษา แม้รัฐบาลต่างๆ ได้ทุ่มเทงบประมาณการศึกษาสูงมากก็ตาม แต่การศึกษาไม่สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นห่างไกล รัฐบาลยิ่งพัฒนาคนรวยกลับรวยยิ่งขึ้น คนจนกลับจนลง จึงทำให้มีการเรียกร้อง ให้มีการปฏิรูปการศึกษา มนุษย์เรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต นั้นคือการรวมเอาการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) นอกระบบโรงเรียน (Informal Education)เข้าด้วยกัน คนเราสามารถเลือกศึกษาได้ในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิตตามความเหมาะสม การศึกษา และการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ว่าจะ ในครอบครัว วัด ชุมชน สถาบันการศึกษา สถานประกอบการ และแหล่งวิชาต่างๆ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นความจำเป็นของมนุษย์ปัจจุบัน

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non – Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self – directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่ายิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำเป็นในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป

 

 

ทฤษฎีภาวะผู้นำ

 

ความแตกต่าง

๑.ทฤษฎีลักษณะเฉพาะของผู้นำ
           (
Trait Theory)

      ทฤษฎีนี้เชื่อว่า บุคคลบางคนเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ และความเป็นผู้นำอาจจะถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หรือผู้นำที่ดีจะมีลักษณะทางร่างกายหรือจิตใจแตกต่างจากคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา ส่วนสูง บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และการแสดงออก
       โดยมีข้อจำกัด  คือ  ไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม   ขาดข้อมูลสนับสนุนเชิงวิทยาศาสตร์  และการไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน  

๒.ทฤษฎีพฤติกรรม (Behavioral Theory)

      ทฤษฎีนี้จะให้­ความสำคัญและมุ่ง­เน้นการศึกษาถึงลักษณะของผู้­นำที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมิได้­ให้­ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้­อมและสถานการณ์มากนัก แต่จะให้­ความสำคัญต่อการเลือกผู้­นำให้­ตรงกับสถานการณ์ เพื่อให้­งานที่ออกมานั้นประสบความสำเร็จ

๓.ทฤษฎีสถานการณ์ (Situational Theory)

      ทฤษฎีนี้จะให้ความสำคัญกับตัวผู้นำค่อนข้างสูง ไม่ได้ให้ความสนใจกับปัจจัยหรือองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่ ผู้นำ      ผู้ตาม และสถานการณ์ ผู้นำคงไม่สามารถแสดงศักยภาพได้หากขาดปัจจัยแวดล้อม ซึ่งปัจจัยแวดล้อมนี้อาจจะก่อให้เกิดโอกาสหรืออุปสรรคต่อการนำของผู้นำแต่ละคน

      ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงพิจารณาสถานการณ์เป็นหลัก เพื่อที่ผู้นำจะสามารถเลือกใช้ภาวะผู้นำเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์

 ๔.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
   (
Transformational Theory)

      ทฤษฎีนี้มุ่งยกระดับความต้องการ ความเชื่อ เจตคติคุณธรรมของผู้ตามให้สูงขึ้น เพื่อให้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงกลุ่มหรือองค์การให้มีประสิทธิผล   จึงทำให้ผู้ตามบรรลุจุดมุ่งหมายที่แสดงออกถึงค่านิยม   แรงจูงใจ   ความต้องการ   ความจำเป็น 
ความคาดหวังของผู้นำและผู้ตามได้

 

ทฤษฎีการบริหาร

 

 

ความแตกต่าง

 

 

.แนวคิดการบริหารจัดการในสมัยเดิม หรือยุค

คลาสสิก

 

– มุ่งเน้นการแบ่งหน้าที่ในการทำงาน    ซึ่งจะให้ความสำคัญ กับการแบ่งหน้าที่โดยใช้หลักคุณธรรมในการแบ่งงานเป็นสำคัญที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์การ

– มุ่งเน้นความชำนาญเฉพาะด้านและประสบการณ์ของบุคลากร

-มุ่งเน้นโครงสร้างที่เป็นทางการที่มีการกำหนดกฎ

ระเบียบวินัยที่เคร่งครัดในการใช้อำนาจหน้าที่ ที่มี

ลักษณะของการรวบรวมอำนาจหน้าที่และการ

ดำเนินการของความมีเหตุผล

-มุ่งเน้นหลักการควบคุม โดยการออกกฎระเบียบการควบคุมบุคลากรอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารปฏิบัติงานได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

โดยมีแนวคิดการบริหารจัดการในสมัยเดิมหรือยุคคลาสสิค   อันได้แก่

๑.แนวคิดการบริหารจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

๒.แนวคิดการบริหารจัดองค์การระบบราชการ

๓.แนวคิดการบริหารจัดการเชิงกระบวนการ

-มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างองค์การ และการออกแบบงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

.แนวคิดการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

ทฤษฎีการบริหาร

 

–   มุ่งการศึกษาในปัญหาด้านการจูงใจ การทำให้

คนงานยินยอมปฏิบัติงานที่ได้มอบหมายให้สำเร็จ

ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์การถูกให้ความสำคัญ

รองลงมา สมัยนี้ต้องการความคิดสร้างสรรค์

-มุ่งเน้นในการให้ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงาน

 

ความแตกต่าง

 

 

–  มุ่งถึงการให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีความต้องการทั้งทางด้านสังคมและตนเองที่มุ่งสร้างความพึงพอใจที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นมีปฏิกิริยาต่อแรงกดดันของผู้ร่วมงาน

–  มุ่งศึกษาดูงานการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างองคา

กรและการออกแบบงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

สูงสุด คนงานถูกมองว่าไม่แตกต่างจากเครื่องจักร

ผู้บริหารต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ ได้โดยการให้

สิ่งจูงใจด้วยการให้เงิน ให้ความสำคัญกับสภาวะ

แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

 

.แนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่

 

–   มุ่งเน้นการใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการแก้ปัญหาของการจัดการ เรียกว่าเป็นแนวคิดของการจัดการเชิงปริมาณ  จึงให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกของบุคคลยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน  เช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่งมีความเชื่อว่า ขบวนการมนุษยสัมพันธ์จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลง

   โดยมีแนวคิดทางการสมัยใหม่ประกอบด้วย  ดังนี้

–   แนวความคิดเชิงระบบ

–   แนวคิดเชิงสถานการณ์

 

 

.แนวคิดการบริหารจัดการยุคโลกาภิวัฒน์

 

–          มุ่งให้ความสำคัญกับการดำเนินงานและปฏิบัติที่

ถูกต้องโดยนำไปสู่ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน จาก

การสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ

ของลูกค้า การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ในขณะที่

สามารถลดต้นทุนการผลิตและราคาลงได้อย่าง

ต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการพัฒนาความสามารถใน

การแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง

   โดยมีแนวทางสำหรับแนวคิดทางการจัดการ  ดังนี้

–   การควบคุมคุณภาพ

–   การควบคุมคุณภาพโดยรวม

–   การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

–   การรื้อปรับระบบ