กรุสำหรับ พฤศจิกายน, 2013

เสียงกู่จากครูใหญ่

Posted: พฤศจิกายน 10, 2013 in Uncategorized

ใบงานที่ 3

ชื่อ นางสาวมณฑิตา นามสกุล ชุณหโกวิท รหัสประจำตัว 5411113022

คำชี้แจง ศึกษากรณีศึกษาจากวีดิทัศน์เรื่อง “เสียงกู่จากครูใหญ่” แล้วตอบคาถามต่อไปนี้
*************************************************************************************************
ข้อ 1. จากวีดิทัศน์ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน โปรดตอบคาถาม 1.1-1.6 ต่อไปนี้
1.1 นักศึกษาเกิดการเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการบริหารจัดการในชั้นเรียน
มองเห็นถึงการเป็นนักพัฒนาและวิธีการพัฒนาตามกระบวนการของครูใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกับการบริหารจัดการในชั้นเรียนโดยไม่ยึดติดกับสถานที่เรียน แต่จะเน้นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือครอบครัวได้

1.2 บริบทของการบริหารจัดการในชั้นเรียนมีอะไรบ้าง
บริบทสำคัญคือการเรียนรู้และการลงมือปฏิบัติ เป็นวิธีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดสำหรับนักเรียน เพราะเป็นการเรียนรู้ที่มีการผสมผสานกันระหว่างโรงเรียนกับบ้าน เช่น การกระตุ้นให้เด็กเลี้ยงไก่เพื่อแลกกับคะแนน ดังนั้นนักเรียนจึงเกิดการตื่นตัวต่อการเรียนรู้และการรับผิดชอบต่อหน้าที่

1.3 ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร
ปัจจัยแรกต้องเริ่มจากผู้สอนว่ามีแนวคิดหรือวิธีการสร้างการศึกษาแบบใดแก่นักเรียน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ปัจจัยถัดมาคือตัวนักเรียนเองซึ่งเป็นการประเมินผลทางการพัฒนาด้านการศึกษาว่าตนเกิดความสำเร็จในชีวิตหรือไม่ หากสำเร็จก็สามารถนำไปพัฒนาชุมชนของตนต่อไป

1.4 ครูใหญ่มีหลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือระบบ หรือกระบวนการการบริหารจัดการในชั้นเรียนอย่างไรบ้าง
ครูใหญ่เน้นหลักการหรือแนวคิดว่า “การพึ่งตนเอง” สำคัญที่สุด เพราะครูใหญ่เชื่อว่าการพึ่งตนเองสามารถทำให้เราอยู่รอดได้มากกว่าการพึ่งพาผู้อื่น เช่นเดียวกับการบริหารในชั้นเรียนที่ครูใหญ่วางไว้เพื่อต้องการให้นักเรียนรู้จักการพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต เช่น กลุ่มนักเรียนได้เรียนรู้การทำดินบล็อกเพื่อเป็นผนังโรงเรียน เมื่อจบแล้วก็สามารถสร้างบ้านของตนเองด้วยดินได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น นับว่าเป็นกระบวนการที่ ประสบผลสำเร็จมากที่สุด

1.5 เป้าประสงค์ของการบริหารจัดการในชั้นเรียนคืออะไร
เป้าประสงค์สำคัญคือการยกระดับหรือการพัฒนาการศึกษาให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เพื่อต้องการให้นักเรียนสามารถเรียนรู้แบบการลงมือทำโดยไม่ยึดหลักทฤษฎีการศึกษาเพียงอย่างเดียว

1.6 บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากกรณีศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
นำไปประยุกต์ได้โดยการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการศึกษาก่อนว่ามีความสำคัญอย่างไร จากนั้นก็เริ่มฝึกให้นักเรียนรู้จักทฤษฏีเบื้องต้นและวิธีการปฏิบัติจนให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและความชำนาญ แล้วครูก็จะค่อยๆ มองแนวคิดหรือความต้องการหรือวิธีการปฏิบัติของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากที่สุด

ข้อ 2. สภาพชุมชนก่อนและช่วงแรกๆ ที่มีครูใหญ่คนนี้เข้ามาในพื้นที่ชุมชนมีสภาพเป็นอย่างไร มีปัญหา
อะไรบ้าง สาเหตุเป็นเพราะอะไร
ชาวบ้านในชุมชนอยู่กันอย่างอดอยาก ยากจน ขาดการหล่อหลอม มีปัญหาในการพัฒนาชีวิต และขาดแคลนสถานศึกษา เป็นเพราะสาเหตุของการอยู่กันอย่างเห็นแก่ตัวของชาวบ้านโดยไม่มีการพัฒนาหรือตั้งความหวังในชีวิตเลย

ข้อ 3. คน หรือชุมชนมีการต่อต้านอย่างไรบ้างในช่วงแรก
ในช่วงแรกคนในชุมชนที่ยังไม่พัฒนาและมีจิตใจคับแคบเห็นแก่ตัว ได้มีการต่อต้านความคิดที่จะสร้างโรงเรียน ซึ่งคิดว่าการสร้างโรงเรียนนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่เรื่องของชาวบ้าน ถ้ารัฐบาลไม่มาสร้างให้เขาก็ไม่ให้ลูกหลานของเขาเรียน เพราะพวกเขาอยู่ได้โดยไม่ต้องเรียนก็ไม่เดือดร้อนลูกหลานก็อยู่ได้

ข้อ 4. ครูใหญ่มีวิธีการเอาชนะพลังต่อต้าน หรือภาวะหลงตน (Complacency) ของคนในชุมชนอย่างไรบ้าง
ครูใหญ่มีวิธีการเอาชนะพลังต่อต้านโดยการทำตามแนวคิดของตนบวกกับความมุ่งมั่นในการสร้าง
โรงเรียน และมีแนวคิดว่าเราต้องพึ่งตนเองเสียก่อนแล้วสรรค์จะช่วยจนสามารถหาจุดเริ่มต้นให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนจนสำเร็จ

ข้อ 5. ครูใหญ่ท่านนี้มีการจัดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมที่เขา
ทำประกอบการอธิบาย
ครูใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงชุมชนโดยเริ่มจากการหล่อหลอมจิตใจชาวบ้าน ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในการพัฒนาภายในชุมชนของตน เช่น สร้างโรงเรียนเพื่อให้เด็กมีความรู้ สร้างงานและส่งเสริมอาชีพโดยการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงวัว ปลูกไม้สน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ภายในครอบครัวของนักเรียนและยังส่งเสริมให้โรงเรียนมีเงินทุนเพื่อพัฒนาโรงเรียนต่อไป

ข้อ 6. นักศึกษาคิดว่า ชุมชน เกิดการเปลี่ยนอย่างไรบ้าง (ด้านโครงสร้างชุมชน ด้านบุคลากรในชุมชน ด้านกระบวนการทำงาน ด้านวัฒนธรรมองค์การ) จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ชุมชนมีการพัฒนาและมีความเข้มแข็งขึ้นโดยได้รับการพัฒนาจากครูใหญ่อย่างเป็นกระบวนการ จึงทำให้ชุมชนเกิดความรู้และสามารถสร้างอาชีพเป็นหลักแหล่งได้ หลังจากนั้นก็เริ่มมีวัฒนธรรมต่างๆเกิดขึ้นภายในชุมชน เช่น พิธีมอบไก่แก่นักเรียน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงวัว ปลูกผัก ปลูกไม้สน รวมถึงการทำพิธีแต่งงานโดยครูใหญ่เป็นประธาน ฉะนั้นคนในชุมชนจึงเกิดความสำเร็จในด้านการพัฒนาจนสามารถนำพาประเทศให้เกิดความรักความเข้มแข็งและลดความยากจนได้

ข้อ 7. นักศึกษาคิดว่าครูใหญ่คนนี้ เขาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) หรือไม่ เพราะอะไร จงอธิบายถึงบทบาทหรือพฤติกรรมของครูใหญ่ท่านนี้พร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ครูใหญ่คนนี้เขาได้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เนื่องจาก ครูใหญ่ได้เล็งเห็นถึงบทบาทด้านการศึกษาเป็นสำคัญและรวมถึงการพึ่งพาตนเองในการเลี้ยงชีพเพื่อการอยู่รอด เช่น การซื้อลูกไก่มาเลี้ยงเพื่อเพิ่มรายได้ และหลังจากนั้นก็แจกจ่ายไก่ให้กับนักเรียนไปเลี้ยงที่บ้านจนกลายเป็นหมู่บ้านไก่

ข้อ 8. นักศึกษาคิดว่า ประชาชนในพื้นที่มีแรงจูงใจต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง สาเหตุเป็นเพราะอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบการอธิบาย
ครั้งแรกครูใหญ่เชื่อว่าชาวบ้านมักจะเห็นแก่ตัวมานานจนไม่สามารถใช้คำพูดจูงใจได้จึงต้องอาศัยการทำงานหนักเป็นตัวอย่าง ทำให้ชาวบ้านต่างมองเห็นถึงความมุ่งมั่นมานะบากบั่นในการพัฒนาโรงเรียนอย่างอุสาหะ จนทำให้ชาวบ้านทุกคนเกิดความศรัทธาต่อครูใหญ่และช่วยการสร้างโรงเรียนแห่งนั้นขึ้นมา

ข้อ 9. นักศึกษาคิดว่าได้เกิดการเรียนรู้อะไรจากการชมวีดิทัศน์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำทาง การศึกษา
หน้าที่ของครูที่ดีนั้นมิใช่เพียงอาศัยตำราหรืออาศัยห้องเรียนสี่เหลี่ยมเล็กๆ เท่านั้น ครูที่ดีจะต้องรู้จักสอนให้นักเรียนรู้จักการพัฒนาและการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้นักเรียนเหล่านั้นสามารถรู้จักคุณค่าของการเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต เช่นเดียวกับครูใหญ่ที่ท่านมีแนวคิดสำคัญที่ว่า “การทำงานหนักเป็นดอกไม้ของชีวิต” เพราะการทำงานหนักก่อให้เกิดความสำเร็จตามมาและเป็นการนำพาประเทศชาติให้เจริญสืบไป

******************************

การอ่านออกเขียนคล่องในระดับประถมศึกษาในประเทศฟินแลนด์เป็นสิ่งที่สาคัญมากของการเรียนรู้ ซึ่งประเทศฟินแลนด์นับว่าเป็นผู้นาด้านการศึกษา โดยมีแนวคิดที่ว่า “ เด็กต้องเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ” และการปฏิบัตินั้นเกิดขึ้นนอกห้องเรียนด้วยกิจกรรมที่จัดให้ไว้อย่างพร้อมสรรพ โรงเรียนแห่งนี้จะมีครูสอน เกี่ยวกับการแต่งหนังสือนิทานซึ่งจะเป็นโครงการที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง และเป็นกิจกรรมที่นักเรยนสนใจมาก เพื่อทาให้การอ่านและการเขียนเกิดความน่าสนใจและดึงดูดผู้เรียนมากขึ้น วิธีการจัดการบริหารในชั้นเรียน คือครูจะมีการแบ่งกลุ่มในการทากิจกรรม เช่น นักเรียนคนใดทางานไม่เสร็จจะให้อยู่ในห้องสมุดชั้นล่างและ เมื่อเสร็จแล้วก็ขึ้นไปชั้นสองเพื่อพัฒนางานต่อไป โดยวิธีนี้เป็นการก้าวสู่บันไดอย่างเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน เพื่อให้เด็กสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออก นับว่าเป็นทักษะที่ดีและสาคัญต่อการ อ่าน เขียน พูด

ดังนั้นการบริหารจัดการในชั้นเรยนที่ดีจะต้องไม่อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆอย่างห้องเรยน ครูจึงต้องรู้ วิธีการสอนที่หลากหลายต้องยึดผู้เรียนเป็นหลักและให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดีต่อ ผู้เรียนอย่างมาก

นางสาวมณฑิตา ชุณหโกวิท 5411113022
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ปีที่ 3