การเตรียมความพร้อมสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นยอดปรารถนาของนักศึกษาทุกคน ผู้มีประสิทธิภาพในการเรียนย่อมจะได้รับความสำเร็จเป็นบัณฑิตที่มีศักดิ์ศรี คู่ควรแก่ปริญญาบัตรและยังจะช่วยนำพาให้เป็นผู้มีความรุ่งเรืองในชีวิต ด้วยโลกในสหัสวรรษที่ ๓ เป็นโลกของการเรียนรู้ ทุกคนต้องแสวงหาความรู้โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long-Learning) และการเรียนรู้ที่สำคัญจะมาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Study) ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ผ่านสื่อการศึกษาในรูปแบบของสื่อประสม เช่น หนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทปเสียง เทปภาพวีดิทัศน์ ฯลฯ เป็นวิธีการศึกษาที่สอดคล้องกับระบบการศึกษาทางไกล

การจะเป็นนักศึกษา มสธ. ที่เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผู้สามารถรับผิดชอบดำเนินการทางการเรียนได้ในทุกกรณี โดยผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลตามหลักสูตรของ มสธ. ภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 4 ปี, 3 ปี, 2 ปี จึงเป็นภารกิจผูกพันอย่างต่อเนื่องที่นักศึกษาจะต้องเรียนให้ทนและเรียนให้ได้ผล มีการเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง 

 

การจัดเตรียมตนเองเพื่อการเรียนรู้

การจัดเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อการเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่นักศึกษาสามารถ ดำเนินการได้เองไม่ต้องขึ้นกับสิ่งใดเพียงแต่คอยกำกับควบคุมจิตใจและร่างกายของเราให้พร้อม ที่จะเรียน 

  • มีจิตสำนึกในตนว่าเราเป็นนักศึกษา
    ด้วยการหมั่นนึกระลึกถึงเสมอ ๆ ว่าขณะนี้เราเป็นนักศึกษาต้องแสวงหาความรู้ มีความรับผิดชอบในการเรียน รักการเรียน เห็นคุณค่าของการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน 
  • มีใจมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการเรียน
    นักศึกษาต้องรู้จุดหมายที่แน่นอนว่าต้องการเรียน มสธ. เพื่ออะไร อะไรคือสิ่งที่เราต้องการ มีความตั้งใจและมุ่งมั่น 
  • มีวินัยในตนเอง
    การมีวินัยในตนเองที่จะเรียนรู้เป็นสิ่งที่นักศึกษาจะต้องพยายามฝึกฝนตน ให้สามารถบังคับควบคุมพฤติกรรมส่วนตัว รวมทั้งอารมณ์ของตนเองให้กระทำ เพื่อเกิดการเรียนรู้จนบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น อ่านเอกสารการสอนตามตารางเรียนที่กำหนดไว้ทุกวัน ทำแบบฝึกหัด บันทึกย่อ และทบทวนสม่ำเสมอ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง หลีกเลี่ยงหาสาเหตุอื่นมาอ้างที่จะไม่อ่าน ไม่เรียน 
  • มีการรักษาสุขภาพตนเอง
    นักศึกษาต้องสนใจห่วงใยระวังรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียนหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียน การดูแลตนเองด้วยการปฏิบัติตนตามสุขนิสัยที่ดี ควรตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • มีท่าของการอ่านที่ถูกสุขลักษณะ
    การอ่านที่ใช้กายภาพอย่างเหมาะสม ควรจะเป็นการนั่งให้หลังตรง จะทำให้เลือด ไปเลี้ยงสมองได้ดี ช่วยให้การเรียนรู้และการจดจำดี มีความตื่นตัว จัดวางเอกสารการสอนที่อ่าน ให้อยู่ห่างจากนัยน์ตาของเรา ประมาณ 1 – 1.5 ฟุต

การจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในการเรียน

การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจริงอยู่ที่ว่าจะเรียนที่ไหนก็ได้ แต่ถ้าจะเรียนจะอ่านกันอย่างจริงจังให้ได้สาระความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา ก็ควรจะจัดให้มีมุมเรียนเฉพาะ มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดี 

  • มุมเรียน
    นักศึกษาควรเลือกสถานที่เฉพาะสำหรับการเรียนของเรา ที่ควรจะมีความเงียบ สงบ ไม่มีสิ่งรบกวนจากเครื่องมือสื่อสาร โทรศัพท์ เพจเจอร์ วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ 
  • อุปกรณ์การเรียน
    ควรจัดหาโต๊ะ – เก้าอี้ที่จะนั่งเรียน นั่งอ่านของเราให้มีขนาดความสูงพอเหมาะ เก้าอี้มีพนักพิงที่ตรงเบาะนั่งไม่แข็ง และไม่นุ่มสบายจนเกินไป มีเครื่องเขียน ดินสอ ปากกา กระดาษ สมุดฯ ตำราเรียน เอกสารการสอนที่จะวางไว้สะดวกในการใช้ 
  • แสงสว่าง
    การอ่านต้องอาศัยแสงสว่างที่เพียงพอ จัดให้แสงไฟส่องมาจากด้านข้าง และเอียงไปทางด้านหลัง ควรใช้ไฟจากหลอดเรืองแสง (fluorescent) ที่มีสีขาวนวล 
  • อุณหภูมิ
    จัดให้มีที่ระบายอากาศ ช่วยปรับอุณหภูมิ ณ มุมเรียนของเราให้ไม่ร้อนจนเกินไป ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมช่วยให้มีการเตื่นตัวต่อการเรียนรู้ที่ดี อยู่ที่อุณหภูมิ ประมาณ 22 – 25 องศาเซลเซียส

การจัดเตรียมเวลาเพื่อการเรียน

นักศึกษาจะต้องจัดการเวลาของตนที่มีอยู่ส่วนหนึ่งมาใช้ในการเรียน โดยให้ความสำคัญกับเวลาเรียนที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วนต้องทำก่อน 

  • เวลาเรียนที่เหมาะสม
    ในแต่ละวันจะต้องมีเวลาเรียนที่จะอ่าน ศึกษา จดบันทึก โดยถือเป็นกิจวัตร เวลาที่เหมาะสมของการอ่านควรอยู่ในช่วงเวลา 20.00 – 23.00 น. ในตอนกลางคืน และตอนเช้า 04.30-06.30 น. จัดทำเป็นตารางเรียน กำหนดว่าจะเรียนชุดวิชาใด 1 – 2 ชั่งโมงในแต่ละชุดวิชา/วัน
  • ทำกิจกรรมการเรียนตรงเวลา
    กิจกรรมการเรียนที่กำหนดในปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องไม่ลืม ทำตามช่วงเวลา เช่น การลงทะเบียนในแต่ละภาคเรียน ควรจะจดหรือทำเครื่องหมายในปฏิทิน ของตนเองให้เห็นชัดเจนว่าต้องทำอะไร เมื่อไร โดยเฉพาะตารางสอบไล่ประจำภาคเรียน 

รูปภาพ

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกลส่งผลให้สื่อการเรียนการสอนมีความทันสมัยมากขึ้น   ครูยุคใหม่จึงต้องรู้จักใช้ยุทธวิธีที่หลากหลายเป็นตัวกลางสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสีสันดึงดูดใจเปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างไกลให้กับผู้เรียนด้วยสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่และต้องคำนึงว่าจะนำมาใช้อย่างไรให้เหมาะสม  ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศหรือการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วทุกมุมโลกในเวลาอันรวดเร็ว

ในการจัดการเรียนการสอนยุคใหม่นั้น นอกจากครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของแนวคิดหลักแห่งวิชาชีพครูและเนื้อหาสาระวิชาที่สอนแล้วยังจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเครื่องมือที่จะใช้แสวงหาความรู้เพื่อช่วยเติมเต็มความรู้ให้กับผู้เรียนเกิดทักษะ ความรู้ สร้างสรรค์ประสบการณ์  และความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนทุกคน  ดังนั้นสื่อการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคนิควิธีการล้วนเป็นสื่อกลางที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ได้ง่ายและรวดเร็ว  จึงถือเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งที่จะนำความต้องการของครูผู้สอนไปสู่ผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  และที่สำคัญคือครูผู้สอนต้องรู้จักเลือกสรรสื่อการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ปัจจุบันมีสื่อการเรียนรู้รูปแบบสมัยใหม่มากมายให้เลือกใช้  ดังนั้นครูผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกสื่อการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพ   เช่น  สื่อที่มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่สอนตรงตามวัตถุประสงค์  เนื้อหาถูกต้อง  ทันสมัย  น่าสนใจ  และส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของเด็กมากที่สุด  ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ ได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน เหมาะสมกับวัย  ระดับชั้น  ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน เป็นสื่อที่มีคุณภาพ  สะดวกไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป  หรือหากผลิตสื่อการเรียนการสอนเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน  เป็นต้น   สำหรับสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทในแวดวงการศึกษาในสังคมยุคข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ เช่น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หรือ CAI (Computer Assisted Instruction)เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  เป็นลักษณะการนำเสนอที่มีทั้งตัวหนังสือ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เพื่อดึงดูดให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  อีกทั้งมีการแสดงผลการเรียนให้ผู้เรียนทราบทันทีด้วยข้อมูลย้อนกลับ  บางครั้งอาจเรียกว่า “บทเรียนสำเร็จรูป”แต่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางแทนสิ่งพิมพ์หรือสื่อประเภทอื่น 

บทเรียนออนไลน์ หรือ E-Leaning  จึงเป็นบทเรียนแห่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม  การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning)  การเรียนออนไลน์ (On-line Learning)  การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม  การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์  เป็นต้น  เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองที่ผู้เรียนอาจเลือกเรียนตามความสามารถและความสนใจ เป็นวิธีการที่ผู้สอน ผู้เรียน  และเพื่อนร่วมชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ  โดยอาศัยการติดต่อสื่อสารในรูปแบบของ E-mail,Webboard,Chat หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book  (Electronic Book) เป็นหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์  เป็นสื่อที่สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ  และที่สำคัญคือ E-Book  สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ไม่สามารถทำได้อย่างง่ายดายในสื่อที่เป็นหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์ 

เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับพกพา หรือ Tablet PC ปัจจุบันเริ่มมีหลายประเทศได้นำมาใช้ในแวดวงการศึกษาโดยให้นักเรียนใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมมากขึ้น  เพราะเห็นว่า Tablet PC สามารถช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์ตำราเรียนได้  Tablet PC สามารถบรรจุหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอลได้เป็นจำนวนมาก โดยผู้อ่านสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้  อีกทั้งสามารถแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาได้ตลอดเวลา  และที่สำคัญ Tablet PC สามารถเชื่อมโยงให้ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อสื่อสารกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตได้ ช่วยทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป

กระดานอัจฉริยะ หรือ Interactive Board เป็นกระดานระบบสัมผัสที่มีหน้าจอขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหน้าจอโปรเจคเตอร์คอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถควบคุมโดยการสัมผัสหรือเขียนบนหน้าจอโดยตรงแทนการใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ด  สามารถสั่งพิมพ์ บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ หรือส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งได้นำมาใช้ในโรงเรียน แทนกระดานไวท์บอร์ดแบบเดิม กระดานอัจฉริยะเป็นสื่อไฮเทคที่มีประโยชน์มากสำหรับโลกของการศึกษาในปัจจุบัน และอนาคต

ในยุดแห่งโลกการสื่อสารที่ไร้พรหมแดนแบบนี้ต้องยอมรับว่า การมีสื่อการเรียนรู้รูปแบบที่ทันสมัยได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในแวดวงการศึกษา  เป็นสื่อมีชีวิตที่สามารถดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ที่จะนำไปสู่การเปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างไกล  อย่างไรก็ตาม แม้สื่อในรูปแบบใหม่เหล่านี้จะมีประโยชน์ที่จะช่วยเติมเต็มความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อผู้เรียน  แต่ครูผู้สอนก็ยังคงมีความสำคัญในการชี้นำแนะทางที่ถูกต้องเหมาะสมและต้องเลือกสรรสื่อการเรียนรู้ที่จะเกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด

 

รูปภาพ

      เรื่องราวของการศึกษาในบ้านเมืองเราตอนนี้ เข้าขั้นวิกฤติแล้วไม่ว่าผมจะบรรยายที่ไหนจะไปเจอใคร ต่างก็มึนๆกันกับเรื่องราวของการศึกษาบ้านเรา ทั้งในมหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือแม้คนในกระทรวงศึกษาธิการเองก็ตาม  ท่านผู้บริหารการศึกษา ครูบาอาจารย์ ผู้ปกครอง รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาต่างก็รู้สึกว่าการศึกษาบ้านเรานี่มันแปลกๆ

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ซึ่งมีหน้าที่ในการวัดผลการเรียนของนักเรียนทั้งประเทศ ประกาศคะแนนเฉลี่ยในการทดสอบของนักเรียนเราแทบทุกวิชาในแต่ละช่วงชั้นตกต่ำลงมาตลอด ในขณะที่รัฐบาลเราจ่ายเงินลงทุนด้านการศึกษาเพิ่มมาเรื่อยๆจนปีที่แล้วเราทุ่มงบประมาณ ๕ แสนล้านบาท ให้กับการศึกษา จ่ายเงิน มีงบให้มาก แต่วัดผลที่ไรก็เศร้าใจ หรือการศึกษาบ้านเรา ตกต่ำลงเรื่อยๆจริงๆ ไทยเราขอร่วมสอบ PISA ซึ่งเป็นการวัดความรู้ความสามารถของนักเรียนทั้งประเทศในกลุ่มประเทศ OECD

การสอบแบบนี้ดีเพราะเป็นการวัดความรู้ความเข้าใจจริงๆไม่ใช่การสอบแบบท่องจำครับ เนื่องมาจากจุดประสงค์ในการทำนั้นไม่ใช่การจัดทำเพื่อการแข่งขัน แต่เขาจัดทำเพื่อวัดผลและนำผลที่ได้ไปใช้การพัฒนาการศึกษา เพื่อคนในจะได้มีความรู้ความสามารถจริง(ต่างกันกับการสอบฟิสิกส์ คณิต เคมี ชีวะ โอลิมปิก ซึ่งเป็นการสอบแข่งขันกันเป็นรายคน)
              
การสอบ PISA จัดโดยสุ่มให้นักเรียน ม.3 ทั้งประเทศของทุกประเทศที่เข้าร่วมสอบ  ผลคือ ความสามารถในการเรียนรู้ ของนักเรียนเราน้อยมาก ความสามารถในทางคณิตศาสตร์ ต่ำระดับมาก ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ต่ำมากๆร่วมสอบมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกก็ต่ำเกือบที่สุดในโลก ครั้งหลังต่ำกว่าเดิม ความสามารถในการเรียนรู้ของเราอยู่ในกลุ่มท้ายๆของโลก หรือเป็นเพราะเราใช้การศึกษาภาคบังคับ คือบังคับให้เด็กเราเรียนเยอะมาก มากกว่าบรรดาชาติต่างๆในโลก
     

     เด็กไทยเราใช้เวลาเรียนในห้องเรียน มากที่สุดในโลกนั่นอาจจะเป็นผลให้ เด็กเราเบื่อการเรียนและหยุดการเรียนรู้เมื่อคิดว่าจบการศึกษา หรือเป็นเพราะเราบังคับเขามากเกินไป ด้วยความเชื่อว่าการฝึกวินัยต้องใช้การบังคับ เราบังคับให้เขาตัดผมเกรียน ร้องเพลงชาติและใส่ชุดลูกเสือ โดยไม่เคยถามหรือสนใจความสมัครใจของเขาเลย นั่นอาจเป็นผลให้เด็กเราขาดวินัย(ในตนเอง) ขาดการฝึกวินัยที่มาจากควบคุมจิตใจของตนเอง นั่นอาจทำให้เด็กของเรา คิด น้อย เพราะเราไม่ได้ฝึกให้เขาคิด แต่ฝึกให้เขาให้เขาทำตาม

        
สถิติต่างๆด้านสังคม น่าจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเราทำการศึกษา ผิดวิธีมานานแล้ว เด็กไทยท้องในวัยเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย นะครับ เด็กไทยขาดการอดทนอดกลั้น มีความอยากในวัตถุมากขึ้น อดทนน้อยลง และขาดจิตสำนึกในควาเป็นไทย
          
ทุกวันนี้เราจะเห็นปัญหาสังคมมากมายที่มาจากผลของการใช้การศึกษามาเป็นเครื่องมือ ในการแข่งขัน ถึงเวลารึยังที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พ่อแม่และสังคมจีนได้บ่มเพราะฝึกฝนลูกหลานชาวจีนให้ขยัน อดทน และประหยัด เหล่านี้คือการศึกษา

วันนี้จีนกำลังจะก้าวสู้ประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งโลก แซงอเมริกา เพราะอัตราเงินออมของคนจีน สูงถึง 40 % ในขณะที่อัตราเงินออมของอเมริกัน ประมาณ 0%
           
สังคมไทยขาดความรับผิดชอบที่ควรให้การศึกษากับประชาชน เห็นได้จากการที่เรากำลังปลูกฝังให้คนใช้เงินที่ยังไม่มีอยู่ นั่นคือ บัตรเครดิต และเงินกู้ส่วนบุคคล รถยนต์คันแรก ผ่อนไอโฟน ผ่อนท่องเที่ยว ดอกเบี้ย 0% และนั่นอาจทำให้อัตราเงินออมของไทยติดลบ ด้วยนโยบาย”แจกแหลก” นี่เอง เรากำลังปลูกฝั่งให้คนของเรา”รอของแรก” แทนที่จะฝึกให้ทำมาหากิน
          
สิงคโปร์ให้การศึกษากับประชาชนด้วยการฝึกให้คนของเขาเคารพกฎหมาย คนสิงค์โปร์โดยส่วนใหญ่ จึงไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ และมาโกงภาษี ส่วนคนไทยเรามักชอบฝ่าฝืนกฎ และพยายามใช้เส้นสายเพื่อเอาเปรียบเพื่อนร่วมชาติ คุณธรรมเหล่านี้ไม่ได้รับการบ่มเพาะอย่างจริงจังให้เด็กในบ้านเรา ผู้ปกครองส่วนมากนึกว่าส่งลูกไปโรงเรียนแล้วลูกจะดีเอง โรงเรียนส่วนใหญ่ก็สนใจแต่เรื่องหลักสูตรวิชาการ ผลการสอบวัดความรู้ต่างๆ รวมทั้งผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัย นี่คือ การขาดทิศทางเป้าหมายของการศึกษา
                  เด็กเกาหลีจะถูกปลูกฝั่งให้ค้นคว้าหาความรู่ตั้งยังเด็กมีการพาเด็กๆไปพิพิธภัณฑ์การฺตูน ห้องสมุดการ์ตูน และศูนย์การเรียนรู้ แอนนิเมชั่น นี่คือการศึกษาของเรา     บริษัทใหญ่ๆจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน อย่างเช่น ซัมซุงให้ความสำหรับต่อการศึกษามาก นอกจากเป็นศูนย์การเรียนรู้แล้ว บริษัทยังให้เงินจำนวนมากแก่มหาวิทยาลัยต่างๆเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและการพัฒนา    องค์กรเอกชนให้ความสำหรับการลงทุนด้านการศึกษา มีบริษัททำแอปพลิเคชั่นด้านการเรียนรู้ มีการพัฒนาหลักสูตรต่างๆและระบบสนับสนุนการเรียนการสอนมากมาย และสิ่งที่ตามมาคือความสำเร็จขอประเทศ คนไทยต้องให้ความสำหรับกับ”อนาคตของชาติ” มากกว่านี้ อย่าปล่อยให้การศึกษาเป็นเพียงเครื่องมือแข่งขัน

          ผู้ปกครอง คงต้องหันมาพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิต (Life skill) ให้ลูก เพราะความสำเร็จของลูกหลานเราจะไม่ยั่งยืนถ้าขาดสิ่งที่มีค่าที่สุดคือความอดทน อดกลั้น  สังคมคงต้องหันมาปลูกฝัง คุณธรรม ให้เยาวชน ธุรกิจมอมเมา หันมาทำ พิพิธภัณฑ์เอกชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ผมดีใจที่เห็นธุรกิจดีๆช่วยสนับสนุนคุณภาพคนไทย เช่นสนามฟุตบอล สนามแบดมินตัน ทั้งเอกชนและรัฐต้องสนับสนุนกิจการเหล่านี้อย่างจริงจัง ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติตรงไปตรงมา เป็นตัวอย่างเยาวชน ครูเข้าสอนตลอดเวลา ผู้รักษาเวลาที่ได้นัดหมายไว้……นี่คือการฝึกวินัย ให้เด็กๆของเรา  การมาสายจนชิน กลายเป็นวัฒนธรรมของเราไปแล้ว เพราะสังคมไม่เห็นความสำคัญ….ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งมาสาย …….นี่คือการขาดความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ถึงเวลารึยังครับที่เราจะเริ่มจัดโรงเรียน”เพื่อผู้เรียน” ทำห้องเรียนให้มีความสุข เลิกเอาคะแนนมาเป็นเครื่องมือบังคับให้เด็กเรียน เลิกต้อนเด็กไปทำกิจกรรมที่เขาไม่อยากทำ หันมาสร้างความรักในงาน ส่งเสริมกิจกรรมดีๆที่เขาอยากทำ ให้มีส่วนในการคิด และฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง

เลิกการสอนแบบท่องจำ แต่มุ่งเน้นให้เขาแสวงหาความรู้ ค้นคว้าและมีความสุขกับการอ่าน การหาข้อมูล เปิดพื้นที่ให้เขาแสดงออก รับฟังและร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้น่าเรียน  การติดสินบน รับสินบน จนจะกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ ต้องโนรังเกลียด เหยียดหยาม
การก้มหัวให้อำนาจ ให้ตำแหน่งต้องหมดไป คนไทยทุกคนต้องมีศักดิ์ศรี ก้มหัวให้ความดีไม่ใช่ตำแหน่งปลอมๆ นี่คือหนึ่งใน”เป้าหมายการศึกษา”ที่สังคมต้องช่วยกัน
          การฝึกให้คนของเรารักชาติ โดยบังคับให้เขาร้องเพลงชาติ คงไม่ได้ผลอะไร ถ้าอยากเห็นเด็กไทยของเราเติบโตมาเป็นคนรักชาติ เราต้องตัวเองก่อนครับ ว่าชาติ รักเราไหม สังคมนี้ทำอะไรดีๆให้เขาบ้างไหม

                 สร้างแหล่งเรียนรู้ เช่น สนามกีฬา ลานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ให้มากกว่าศูนย์การค้าสิครับ  สื่อสารมวนชน ทีวี ดาวเทียม สัญญาณต่างๆ ป้ายโฆษณายักษ์ๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวดีๆ งานนิทรรศการ ประกวดภาพถ่าย ประกวดร้องเพลง เรื่องดีๆส่งเสริมความดี เรื่องน่าสนใจในบ้านเมืองและต่างประเทศ ต้องมีพื้นที่มากกว่านี้ รับบาลต้องช่วยถ้าจริงใจต่อการพัฒนาการศึกษา ต้องทำให้สื่อดีๆ เอาชนะสื่อที่เน้นให้เด็กของเราเป็นวัตถุนิยม

                  เด็กท้องวัยเรียน เด็กติดเกมส์ โดดเรียน เด็กตีกัน เยาวชนติดยาเสพติด ค้ายา และใช้ความรุนแรง นี่คือปัญหาของสังคม  วันนี้ จะมาโทษโรงเรียน โทษครูฝ่ายเดียวคงไม่ได้   การให้การศึกษาจากนี้ไปต้องเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ และสังคม รัฐบาลต้องจริงใจ ที่จะช่วยเด็กไทยเติบโตอย่างมีคุณภาพ    

 

 

 

รูปภาพ

การเปลี่ยนแปลงของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ที่พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนจำนวนไม่น้อยทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูล การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความบันเทิง ไม่เว้นแม้แต่ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน จนบ่อยครั้งทำให้รู้สึกว่าเราก้าวตามเทคโนโลยีไม่ทันเอาเลยทีเดียว 

จะเห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีสาร สนเทศเข้ามามีบทบาทด้านการศึกษามากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีใครสามารถหยุดยั้งได้ ดังนั้น สิ่งที่รัฐบาลต้องคิดให้หนักคือ การเรียนรู้ในโลกกว้างจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำให้เด็กได้เห็นทั้งคุณและโทษ ทำอย่าง ไรที่จะปลูกฝังแนวความคิดหลักการในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
กับแต่ละช่วงวัย ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต แท็บเล็ต รวมถึงโซเชียลมีเดีย 
ทั้งหลาย 

ปัจจุบันรูปแบบการจัดการเรียนการสอนได้เปลี่ยนแปลงไปมาก นักเรียนไม่ได้เรียนเพียงแค่ในห้องสี่เหลี่ยม ที่มีครูยืนสอนหน้าชั้นหรือเขียนลงกระดานดำ นักเรียนนั่งฟังหรือจดตามที่ครูบอกเช่นในอดีต แต่มีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย มีสื่อในรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน มีการนำเทคโนโลยีมาบูรณาการกับเนื้อหาสาระทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะดิจิตอล จนในวันนี้เรียกกันว่าเป็น “การศึกษายุคดิจิตอล” ที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อย่างแน่นอน 

แม้จะมีการทักท้วงกันบ่อยครั้งว่าหนังสือเรียนในรูปแบบเดิม ๆ ทำให้เป็นภาระที่เด็กจะต้องแบกหนังสือหนักไปโรงเรียนในแต่ละวัน แม้จะมีการจัดหนังสือเรียนตามตารางสอนแล้วก็ตาม แต่กระเป๋านักเรียนก็ยังหนักหลายกิโลกรัมเลยทีเดียว แต่การเปลี่ยนหนังสือเรียนมาเป็นดิจิตอล ไม่เพียงแค่จะลดภาระการแบกกระเป๋าของนักเรียนเท่านั้น ยังจะช่วยให้ต้นทุนในการผลิตลดลง การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายและรวด เร็วขึ้น อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สนุก สนานและท้าทายตามระดับความสามารถ ซึ่งสามารถเลื่อนขั้นไปเรียนรู้ประสบ การณ์ใหม่ได้ตามความต้องการ 

สิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้นั่นคือ ในอนาคตหนังสือเรียนจะไม่เพียงแค่เป็นรูปเล่มที่นำเสนอด้วยตัวอักษรที่ยัดเยียดไปด้วยเนื้อหาสาระที่เยอะเกินความจำเป็น มีภาพประกอบบ้างซึ่งสามารถสื่อความหมายได้ตรงบ้างไม่ตรงบ้าง มีกิจกรรมท้ายบทเล็กน้อยแต่ไม่ได้เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ หรือการมีส่วนร่วมของนักเรียนมากนักอย่างเช่นปัจจุบัน
เชื่อว่าหนังสือเรียนไทยในอนาคตจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโฉมใหม่เพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT อย่างแน่นอน ในเบื้องต้นอาจจะค่อยเป็นค่อยไปจากหนังสือเรียนซึ่งเคยจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มแบบเดิม แต่มีการ ปรับโฉมใหม่ในด้านการนำเสนอเนื้อหาและการออกแบบจัดรูปเล่ม ที่เน้นกระบวนการคิด การแก้ปัญหา มีกิจกรรมหลากหลายที่เน้นการมีส่วนร่วม ท้าทาย ให้นักเรียนใฝ่เรียนรู้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเอง 

จากหนังสือเรียนที่เป็นรูปเล่มก็มีการใส่ “คิวอาร์โค้ด” (QR Code หรือ Quick Respond Code) ลงในหนังสือเรียนที่นำเสนอในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องตามที่หลักสูตรกำหนด ซึ่งเป็นรหัสบาร์โค้ดที่จะเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาสาระที่นักเรียนควรได้เรียนรู้เพิ่มเติมอาจจะอยู่ในลักษณะของข้อความป๊อปอัพ (Pop Up) ภาพนิ่ง สไลด์ วิดีโอคลิป หรือลิงก์ไปยังเนื้อหาสาระในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ผ่านการพิจารณาเลือกสรรมาอย่างถูกต้องเหมาะสม หรืออาจจะเป็นเนื้อหาสาระที่จัดทำขึ้นใหม่และเก็บไว้ในเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลของหน่วยงาน เพียงแค่นักเรียนสแกนบาร์โค้ดด้วยกล้องไม่ว่าจะจากแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนก็สามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาอื่น ๆ ได้อีกมากมาย โดยไม่จำเป็นต้องไปห้องสมุดเพื่อค้นคว้าหาหนังสืออ่านเพิ่มเติมอีกต่อไป 

จากนั้นก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาหนังสือเรียนในรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book หรือ E-Textbook) ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งแบบออนไลน์และแบบออฟไลน์ ถ้าแบบออนไลน์เป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาที่นำเสนอทั้งข้อความ ภาพนิ่ง เสียง กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ส่วนการเรียนแบบออฟไลน์ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาด้วยการอ่านผ่านอุปกรณ์อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องอ่านหนังสืออิเล็ก 
ทรอนิกส์ (E-Book Reader) ได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีหลายประเภทและรูปแบบ เช่น PDF ePUB DJVU HTML เป็นต้น 

“Smart Textbook” ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มใช้ในบางประเทศ ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นหลายประการ เช่น ประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจากนักเรียนสามารถซื้อบทเรียนทีละบทหรือเฉพาะบทที่ต้องใช้ นักเรียนเรียนรู้ได้มากขึ้นด้วยลักษณะมัลติมีเดีย เรียนรู้ร่วมกันโดยนักเรียนสามารถค้นหา อภิปราย แสดงความคิดเห็นและลิงก์ถึงกันได้ เป็นต้น จากผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกาพบว่า นักเรียนต้องการ Smart Textbook เนื่องจากช่วยให้ประหยัด จ่ายเท่าที่ใช้จริง เป็นการเรียนแบบมีส่วนร่วม (Interactive) ทำให้นักเรียนจดจำข้อมูลได้ง่ายขึ้น รวมถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนแบบครูสอนแบบบรรยาย 

แม้ว่าในอนาคตหนังสือเรียนไทยจะปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นรูปเล่มอยู่ในรูปแบบของสื่อดิจิตอลทั้งที่เป็น E-Book, E-Textbook, Smart Textbook และคงจะเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ขอฝากไว้ให้หน่วยงานระดับนโยบายได้พิจารณาไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ แม้ว่าการพัฒนาจะเป็นสิ่งที่ดีเสมอก็ตาม แต่เราก็ต้องไม่มองข้ามด้าความพร้อม ความต้องการ ความจำเป็น และบริบทที่แท้จริงของประเทศไทย. 

รูปภาพ

 

ห้องเรียนเสมือน

หมายถึง การจัดประสบการณ์เรียนรู้ในรูปแบบของ software โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยสามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียน รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่ นอกจากนั้นสิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนเสมือนมีคือ การปฏิสัมพันธ์หรือสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เนื่องจากการเรียนการสอนแบบเดิมมีข้อจำกัด ดังนี้

 

  1. สถานที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน
  2. การเรียนรู้จำกัดเฉพาะกับครู ผู้เรียน และตำรา
  3. เวลาในการจัดการเรียนการสอน
  4. โอกาสในการเรียนการสอน สถานที่เรียนไม่เพียงพอผู้ประสงค์จะเรียน
  5. สัดส่วนของครูและนักเรียนไม่เหมาะสมเป้าหมายของห้องเรียนเสมือนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าถึงและได้รับการศึกษาหลังมัธยมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่ได้เข้าชั้นเรียนบางทีอาจจะทำให้คุณเรียนได้ไม่มาก” นอกจากนั้นเป้าหมายประการสำคัญ ทีสอดคล้องและเป็นปัจจัยของห้องเรียนเสมือนคือ การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning) เป้าหมายพัฒนาโอกาสของการเข้าถึงการศึกษาอาจจะพิจารณาแนวคิดกว้างๆที่เกี่ยวกับห้องเรียนเสมือนในประเด็นต่างๆ คือ

    1. ทำเลเป้าหมาย ผู้เรียนอาจจะเลือกเรียนรายวิชาใดๆจากผู้สอนคนใดคนหนึ่งทั่วโลกหากมีการเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนเรียนได้โดยไม่มีขีดจำกัดในเรื่องพื้นที่
    2. เวลาที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนอาจจะมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนการได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอนและเพื่อนที่เรียนร่วมกันจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
    3. ไม่มีการเดินทาง ผู้เรียนสามารถทำงานและศึกษาอยู่ที่บ้านได้อย่างสะดวกสบายซึ่งอาจจะเป็นข้อดีสำหรับผู้เรียนที่มีอุปสรรค อันเนื่องมาจากความพิการทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางหรือแม้แต่ผู้เรียนที่มีภาระด้านครอบครัว ปัจจัยประการนี้นับเป็นโอกาสที่ทำให้ทุกคนมีทางเลือกและความสะดวกสบาย
    4. ประหยัดเวลา ผู้เรียนที่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานศึกษาถ้าเรียนจากห้องเรียนเสมือนจะประหยัดการเดินทาง
    5. ทำงานร่วมกัน ด้วยภาพทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ง่ายดาย ในขณะที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลในห้องเรียนปกติ กระทำได้ยาก ผู้เรียนในระบบห้องเรียนเสมือนจะสามารถอธิบายปัญหาร่วมกัน แลกเปลี่ยนโครงงานซึ่งกันและกันได้
    6. โอกาสการมีส่วนร่วม ด้วยระบบสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการถามคำถาม การให้ข้อสังเกตและการทำกิจกรรมร่วมกัน

    นอกจากจุดเด่นของห้องเรียนเสมือนที่กล่าวมาแล้วนั้นในทางกลับกัน ข้อจำกัดของห้องเรียนเสมือนอาทิเช่น

    1. แหล่งเรียนมีจำกัด ในปัจจุบันยังมีสถาบันที่เสนอรายวิชาแบบห้องเรียนเสมือนจำกัดมากทำให้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแหล่งที่จะเรียนในปัจจุบัน
    2. เครื่องมือที่จำเป็น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มที่บ้าน หรือที่ทำงานพร้อมที่จะติดต่อเชื่อมเข้ากับโปรแกรมห้องเรียนเสมือน ดังนั้น การเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จึงดูคล้ายกับผู้เรียนจะต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควรหรือไม่ก็จะต้องทำงานในองค์กรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้ และพร้อมจะสนับสนุนให้เข้าเรียนได้
    3. การให้ข้อมูลย้อนกลับล่าช้า การสื่อสารในชั้นเรียนปกติ จะเป็นการสื่อสารแบบพบหน้า การถามคำถามจะได้รับคำตอบทันทีทันใดแต่ในสื่อที่มีการเรียนแบบภาวะต่างเวลาอาจจะต้องรอข้อมูลย้อนกลับ อาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งผู้สอนอาจจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับแบบเป็นกลุ่มแบบรวมๆ มิได้เฉพาะเจาะจง ให้กับผู้เรียนคนใดคนหนึ่งอย่างไรก็ตามการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีทันใดสำหรับห้องเรียนเสมือน สามารถกระทำได้ ถ้าผู้ที่ร่วมเรียนทุกคนติดต่อกันแบบอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมๆกัน การพูดคุยการให้ข้อมูลย้อนกลับกันและกันจะต้องมีการเตรียมข้อความสำเร็จรูป จะทำให้การติดต่อระหว่างกันและกันภายในกลุ่มรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่โดยส่วนมากและการเรียนแบบห้องเรียนเสมือนมักจะนิยมใช้แบบภาวะต่างเวลา จึงทำให้คำตอบที่ได้รับล่าช้าออกไป
    4. ทักษะเอกสาร ผู้เรียนที่จะเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จะต้องมีทักษะในการอ่านและการเขียนเป็นอย่างดีเพราะผู้เรียนต้องใช้ทักษะในการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้ซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาขัดข้องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
      เปรียบเทียบลักษณะห้องเรียนเสมือนกับห้องเรียนปกติ
    ห้องเรียนเสมือน
    ห้องเรียนปกติ
    การพิมพ์และการอ่าน
    การพูดและการฟัง
    สถานที่เรียนใดก็ได้ เวลาใดก็ได้
    มีการกำหนดตารางเวลาเรียน
    การจดบันทึกถูกบันทึกโดยอัตโนมัติ
    ผู้เรียนต้องจดบันทึก
    คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความสะดวก
    คอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับผู้เรียน

Image

การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning)

หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการ เรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ


– การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) 
– การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) 
– ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) 
– ความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบ คลุมวิธีการเรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ
– การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning)
– การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) – ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms)
– ความร่วมมือดิจิทั่ล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่าย ทอดผ่าน ดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและ วิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD- ROM) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความ สำคัญ มากขึ้นเป็น ลำดับ

            ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อี-เลิร์นนิ่งแพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ การพัฒนาบุคลากรใน องค์การธุรกิจ รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่ สำหรับ ประเทศไทย การเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องใหม่มาก และยังไม่มี การนำไปใช้ประโยชน์มากนัก อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่โลก กำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัตน์ การ เปิด เสรีทาง เศรษฐกิจ และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย จึงมีความ จำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเปลี่ยน แปลงใน อนาคต อี-เลิร์นนิ่งจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับ การ พัฒนา ทรัพยากรบุคคลของประเทศเพื่อการแข่งขันในโลกยุคใหม่ เนื่อง ด้วย เหตุผลที่จะ กล่าวต่อไป

            การขยายโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการ จัดการศึกษาที่ต่ำกว่าการ ศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรก หรือต้นทุน คงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์ นนิ่งจะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้มากกว่าการจัดการ ศึกษาในห้องเรียน โดย ที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบ ต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีต้นทุนที่ ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถ เรียนรู้ ได้ ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่า จะทำการ ศึกษา ณ สถานที่ใด การเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีเนื้อหา เหมือนกัน และมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการ เรียนรู้ได้ดี กว่า 
     การ เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น ส่ง ผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการ พัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น

            การเรียนรู้ไม่จำเป็น ต้องเรียง ตามลำดับหรือเป็นโปรแกรมแบบเส้นตรง แต่ผู้เรียน สามารถ ข้ามขั้นตอนที่ตนเองคิดว่าไม่จำเป็น หรือเรียงลำดับการเรียนรู้ ของตนเอง ได้ตามใจปรารถนา 
การเรียนรู้ตามศักยภาพและ ความสนใจของผู้เรียน ทำให้ ประชาชนใน ประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นใน การแข่งขันในเศรษฐกิจบน ฐานความ รู้ (knowledge-based economy) ในอนาคต 
การที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย เฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมความรู้ จำนวน มหาศาล ผู้เรียนจึงมีช่องทางและวิธีการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย

            ผู้เรียน สามารถเลือกสื่อการเรียน การสอนได้ตามความถนัดและความสนใจ ทั้ง ในรูปแบบ ของตัวอักษร รูปภาพ ภาพสร้างสรรค์จำลอง (animations) สถานการณ์ จำลอง (simulations) เสียงและภาพเคลื่อนไหว (audio and video sequences) กลุ่ม อภิปราย (peer and expert discussion groups) และการปรึกษาออ นไลน์ (online mentoring) ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 มากกว่าการเรียนรู้โดย การฟัง การบรรยายในห้องเรียน หรือจากการ อ่านหนังสือ และทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นถึงร้อยละ 60 ของการเรียน รู้แบบดั้งเดิม 
ทั้งนี้ ประสิทธิภาพและความรวด เร็วของการเรียนรู้มีความสำคัญมาก สำหรับการแข่งขัน ในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต เพราะจะทำให้คน องค์การ และ ประเทศ สามารถ ปรับตัวและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และ ทำให้เกิดความ รวดเร็วในการช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ รวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนา ทักษะของแรงงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยน แปลงอย่าง รวดเร็ว การสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง

            อี-เลิร์นนิ่งไม่ได้เป็นเพียงการ เรียนโดยการรับความรู้หรือเรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการเรียน “วิธี การเรียนรู้” หรือเรียนอย่างไร ผู้เรียน ในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็น คนที่มี ความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอี-เลิร์นนิ่งไม่มีผู้ สอนที่คอย ป้อนความรู้ให้เหมือนกับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น ผู้เรียนจึงได้รับ การฝึกฝน ทักษะในการค้นหาข้อมูล การเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือก วิธีการ เรียนรู้ และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ การที่ คนมีความ สามารถในการ เรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนา คุณภาพชีวิตของตน เอง ซึ่ง หากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตน เอง เป็นส่วน ใหญ่ จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ ของคน ไทย และ การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความสามารถใน การคิด

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาทางความคิดมากกว่าการฟังการบรรยายใน ห้องเรียน เนื่องจากเป็น การสื่อสารแบบสองทางและมีรูปแบบของการเรียนรู้ที่ หลากหลาย การศึกษาทาง ไกล (distance learning) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะ กระตุ้นและเอื้อให้เกิดการ วิพากษ์อย่างมีเหตุผล (critical reasoning) มากกว่าการศึกษาในห้อง เรียนแบบ เดิม เพราะมีการปฏิสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง นอก จากนี้ การ ศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่านักศึกษาทางไกลระบบออนไลน์ (online students) ได้มีการ ติดต่อกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนมากกว่าเรียนรู้ด้วยความ สนุกมากกว่า ให้เวลา ในการทำงานในชั้นเรียนมากกว่า มีความเข้าใจสื่อการสอนและ การปฏิบัติมากกว่า ผู้เรียนที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 อี-เลิร์ นนิ่งทำให้ เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล และความรู้ จำนวน มาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้ หรือทำให้เกิดความคิด ใหม่ๆ และ การสร้างนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่สำคัญมากที่สุดใน การ แข่งขันใน เศรษฐกิจยุคใหม่

            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่รัฐบาลและองค์การต่างๆไม่ ควรมอง ข้าม เนื่องจากประสิทธิภาพ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และความเหมาะสม กับ โลกยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอี-เลิร์นนิ่งในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดมาก ไม่ ว่าจะเป็น ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความไม่ เพียงพอ ของฮาร์ดแวร์ (hardware) การขาดแคลนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและ ขาด เนื้อหาที่ หลากหลาย และความไม่พร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ เรียน รวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น กฎหมาย และวัฒนธรรม การ เรียนรู้ในสังคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเริ่มต้นการพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันนี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมแล้ว คงไม่สาย เกินไปที่ คนไทยจะได้รับการพัฒนาทันกับพัฒนาการของโลก ในอนาคต

                   ********************************************************************************************

รูปภาพ  —  Posted: มกราคม 13, 2014 in Uncategorized

                                                                                              “แทบเบล็ต”…
                   กระดานชนวนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา นวัตกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนตามยุคสมัย
กับความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้า

 รูปภาพ
 
 ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นวัตกรรมใหม่อย่าง “แทบเบล็ต” (Teblet) กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายมากขึ้น ล่าสุดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของรัฐบาลนั้นได้เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้เป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพและกระจายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งตามนโยบายดังกล่าว “แทบเบล็ตเพื่อการศึกษา” ได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในอนาคตที่จะสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการศึกษาไทย

จากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ  สู่การใช้โน็ตบุกที่พกพาได้ง่ายกว่า  จากนั้นก็ก้าวกระโดดไปสู่การใช้แทบเล็ตอย่างแพร่หลายขึ้น และมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่รวดเร็วเข้าถึงง่ายขึ้น

“แทบเบล็ต” ….สามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง  มีจุดเด่นจุดดีอย่างไร  จะนำมาใช้ในการศึกษาได้อย่างไร…  

 

ในงานประชุมวิชาการไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย (ICTed2012) ภายใต้หัวข้อ “ภาวะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21” ที่จัดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึงนวัตกรรมใหม่นี้ผ่านการบรรยายทางวิชาการ และการประชุมปฏิบัติการ อาทิ เปิดโลกแทบเบล็ต Tablet  ชานชลาสังคมเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 การสร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับแทบเบล็ต  การเรียนรู้ผ่านสื่อสังคม การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนในรูปแบบดิจิทัลออนไลน์ เป็นต้น

รศ. ยืน  ภู่วรวรรณ  อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแทบเบล็ตกับโน๊ตบุก แทบเบล็ตมีข้อได้เปรียบตรงที่สามารถใช้งานได้ในสถานที่ต่างๆสะดวก เพราะไม่มีแป้นพิมพ์ ถือมือเดียวก็ใช้งานได้  น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส  มีความคล่องตัวเพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป  แต่ข้อด้อยกว่าโน๊ตบุกก็คือ  ป้อนข้อมูลได้ช้าและไม่ค่อยสะดวก ไม่เหมาะที่จะป้อนข้อมูลจำนวนมากๆ แบบแป้นพิมพ์  แทบเบล็ตนั้นถ้าจะใช้งานให้ดีต้องต่อกับเครือข่าย เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต   ขอบเขตการใช้งานจึงจำกัดกว่า มีความเสี่ยงที่หน้าจอจะเสียหายได้มากกว่า

แท็บเบล็ตเป็นเหมือนเครื่องมือที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย  ข้อมูลข่าวสารมีการปรับเปลี่ยนเร็วและเทคโนโลยีพัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง  องค์ความรู้มีมาก เกิดใหม่และขยายตัวเร็วมาก  สามารถเข้าถึงความรู้ได้เร็วกว่าที่จะจดจำเอง   รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง   เปลี่ยนการเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ  ซึ่งแม้ว่าหลักสูตรที่ประกาศใช้โดยกระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้บ้างแล้ว  และสถานศึกษาก็ปรับตัวให้ความสำคัญในจุดนี้…แต่ก็ยังช้ามาก  ซึ่งเมื่อมองภาพรวมแล้ว ยังเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนอย่างไม่เป็นรูปธรรมมากนัก

“การศึกษาในยุคใหม่นั้นกระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมากกว่า  ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน องค์ความรู้นั้นมีเกิดใหม่และมากมาย คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิทัล การใช้แทบเบล็ตต้องเน้นที่กระบวนการเรียนรู้  และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่เป็นการนำเอาแทบเบล็ตมาแทนหนังสือหรือสื่อ แต่ต้องเน้นที่นำแทบเบล็ตมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้”

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ  ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการใช้แทบเบล็ตในค่าย Cubic Creative Camp 7 ที่ได้ศึกษาและทดองใช้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ทักษะชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ พร้อมๆ กับเน้นให้เกิดการแสวงหาเรียนรู้โดยใช้ความสนุกเป็นตัวนำที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของเด็ก เพื่อสร้างความประทับใจในการเรียนรู้   ในค่ายนี้แท็บเบล็ตได้รับการนำมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างทักษะการเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เป็นหนังสือหรือที่เก็บสื่อแต่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้เป็น “ตัวเชื่อมโยงกิจกรรม”  ซึ่งพบว่า สามารถสร้างระดับการเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ของผู้เรียนได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และความสนุกจะช่วยสร้างความประทับใจ ทำให้เกิดทักษะและการจดจำไปได้นานๆ

คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย “การจำลองสถานการณ์” หรือ “การทดลองเสมือนจริง”  ต่าง ๆเพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งแท็บเล็ตจะมีศักยภาพสูงในเรื่องนี้ ช่วยในการแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่าง ๆ   มีการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจนและยืดหยุ่น  มีการประเมินผลการเรียนรู้ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าทางการเรียนรู้และนำไปสู่การปรับปรุงตนเอง  และช่วยให้เข้าถึงเนื้อหาสาระข้อมูลสารสนเทศที่มีคุณภาพ …

การใช้แทบเบล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครูที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก และผสมผสานเข้ากับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแทบเล็ต โดยไม่จำเป็นต้องใช้แทบเบล็ตเป็นจำนวนมาก

“เด็กๆ เมื่ออยู่ในการเรียนรู้โดยใช้แทบเบล็ตตั้งแต่เล็ก จะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และจะสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุจะมีความสำคัญมากล้นแต่จิตวิญญานอาจจางล ง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ดังจะเห็นได้ในเยาวชนสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในสิ่งรอบๆ ตัว  ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้  แต่อยู่หน้าจอพูดคุยกับคนที่อยู่ในโลกใหม่   ไม่มีระยะทางและระยะเวลามากั้นขวางภายใต้เทคโนโลยีใหม่

แต่อย่างไรก็ตามแทบเบล็ตเป็นเพียงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่กระแสความสนใจในสังคมโลกอย่างกว้างขวาง ซึ่งอนาคตในการใช้เครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ยังมีการพัฒนาอีกยาวไกล  เหนือสิ่งอื่นใดในการศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญานของการเรียนรู้  การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ที่หามาได้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก  เรายังมีความท้าทายรออยู่ในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก

 

รูปภาพ

ในขณะนี้ ทุกๆประเทศอยู่ในช่วงของการเร่งการปฏิรูปการศึกษา   สาเหตุนั้นมีอยู่ 2   ประการ
อย่างแรกคือเรื่องของเศรษฐกิจ : ผู้คนพยายามขบคิดเรื่องนี้อยู่ว่า เราจะให้การศึกษากับลูก ๆ เราอย่างไรให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21
เรื่องที่ 2 คือวัฒนธรรมทุกคนบนโลกนี้พยายามคิดอยู่ว่า เราจะให้การศึกษากับลูกๆอย่างไรให้เข้ากับเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ
เราจะตีกรอบให้วงจรการศึกษาทั้ง 2 เรื่องนี้ให้เข้ากับยุคโลกาภิวัฒน์อย่างไร

     ปัญหาคือ พวกเขาพยายามเชื่อมอนาคตด้วยสิ่งที่เขาทำในอดีต เมื่อสมัยที่เราไปโรงเรียนจะถูกสอนเสมอว่า เรียนให้หนัก ทำข้อสอบให้ได้ดี ได้เข้ามหาลัยและมีงานทำ แต่ลูก ๆ เรากลับไม่เชื่ออย่างนั้นเมื่อไปถึงอนาคต ไม่ว่าจะมีใบปริญญาหรือไม่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จบมาคุณจะมีงานทำ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจึงเริ่มคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้สูงขึ้น ทำไมจะไม่ล่ะ? ทำไมเราต้องไปลดมันลงล่ะ
 
     ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือระบบการศึกษาในปัจจุบันถูกออกแบบและคิดโครงสร้าง โดยคนอีกยุคหนึ่งที่แตกต่างกัน กล่าวคือ คนคิดระบบกับคนเรียนอยู่คนละยุคกันระบบนี้ถูกเรียกว่าวัฒนธรรมทางปัญญาของการรู้จริง กับสภาวะเศรษฐกิจ และวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม ซึ่งการศึกษาของรัฐ ได้รับเงินอุดหนุนจากระบบการจัดเก็บภาษี ซึ่งบังคับให้ทุกคนต้องจ่าย แบบจำลองทางสติปัญญาของจิตใจ บ่งบอกถึง ความฉลาดที่แท้จริง ซึ่งประกอบไปด้วย
1. การให้เหตุผลในเชิงนิรนัย/วิธีการใช้เหตุผล ที่ค่อยๆ เริ่มจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
2. ความรู้ตามแบบฉบับ
    ทั้ง 2 สิ่งนี้ทำให้เกิด “ความสามารถทางวิชาการ” กลายเป็น Gene pool ของระบบการศึกษาของรัฐ ทำให้เราแบ่งคนได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ได้เรียนหนังสือ
2.ไม่ได้เรียนหนังสือ
ก็คือ คนฉลาดกับไม่ฉลาด
      ซึ่งทำให้คนอัจฉริยะที่ไม่ได้เรียนหนังสือคิดว่าตนเองโง่ โดยยึดถือตามกรอบความคิดนี้ ซึ่งระบบนี้ไม่ได้มองถึงความสามารถในการรับได้ของคนเลย ทีนี้ เรามาสรุปว่า ระบบการศึกษาของรัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เศรษฐกิจและระดับสติปัญญาซึ่งในความเห็นของผมคิดว่า “แบบจำลองนี้เป็นสาเหตุของความวุ่นวาย”
       ผมเชื่อว่าการศึกษาเป็นโมเดลบนผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมและเป็นภาพสะท้อนของมันซึ่งผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง  โรงเรียนถูกจัดระบบการเรียนการสอนแบบสายพานของโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มจากมีเสียงออกเรียกเข้าเรียน มีการแยกสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในโรงเรียน แบ่งเป็นแผนกเป็นวิชาๆ เรายังคงให้การศึกษากับเด็กๆ โดยการแบ่งพวกเขาเป็นกลุ่มๆ เราสร้างระบบโดยแยกเด็กไว้เป็นกลุ่ม เป็นปีๆ ทำไมเราถึงทำแบบนั้นล่ะเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา เราก็ได้นักเรียนที่เรียนจบออกมาในรุ่นนั้นๆ การทำแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิตเลย
ถ้าหากที่กล่าวมาคือมาตรฐานการศึกษาแล้วล่ะก็ ผมจะกล่าวถึงมาตรฐานการศึกษาแบบใหม่ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างแท้จริง ผมจะเปลี่ยนกรอบความคิดใหม่เป็น “Divergent Thinking” Divergent Thinking ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความคิดสร้างสรรค์ ผมขอนิยามมันว่า เป็นกระบวนการของความคิดริเริ่มที่มีคุณค่า Divergent Thinking ไม่ใช่คำคุณศัพท์มันคือส่วนที่สำคัญในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ หมายความว่าเราสามารถหาคำตอบที่เป็นไปได้ อย่างหลากหลายในคำถามเดียว เป็นการคิดแนวข้าง /Think Laterally ตามแนวคิดของ DE BONO ไม่ใช่การคิดแบบ Linear Thinking หรือ Convergent Thinking สรุปคือ คำตอบต้องมีหลากหลายไม่ใช่เพียงคำตอบเดียว ถ้ายกตัวอย่าง Gene Pool Education เราจำเป็นจะต้องเข้าใจความแตกต่างในการรับรู้ของมนุษย์
     เราจำเป็นต้องก้าวออกมาจากกรอบความคิดเดิม ที่แบ่งแยกคน คนนี้ชอบสิ่งที่เป็นนามธรรม   คนนี้ชอบหลักการเหตุผล สิ่งยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นกับการเรียนรู้คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่ม การร่วมมือกัน คือสิ่งที่สำคัญของการพัฒนา และถ้าเราลองแยกกลุ่มนั้นออกมา หมายถึงแตกทั้งกลุ่มออกมาเป็นคนเดี่ยวๆ วัฒนธรรมเดิมจะทำให้เกิดการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งไม่ต่างจากเดิม ที่วัฒนธรรมการศึกษาเป็นลักษณะแบบอุตสาหกรรมการศึกษา และสิ่งแวดล้อมเดิมที่พวกเขายังคงทำอยู่ต่อไป 

Image

ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง “ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21″ ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21

หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • 3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
  • 4 C (Critical Thinking – การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร ซึ่งนอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือเซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน